Cooperation between Thai silk and Champagne Association of France. - Campus AAR
Vidéo Année : 2009

Cooperation between Thai silk and Champagne Association of France.

Afficher 

Résumé

Dans le cadre du Festival international de la diversité culturelle de l’UNESCO, la Délégation permanente de Thaïlande a organisé des manifestations culturelles, artistiques et scientifiques autour du thème « La soie thaïlandaise : un patrimoine culturel » entre le 18 et le 20 mai 2009 à la Maison de l’UNESCO à Paris. Cet événement se composait d'une série de colloques, d’une exposition-démonstration, d’un spectacle suivi par un défilé de mode. La soie thaïlandaise, souvent appelée « La Reine des textiles », est un produit réputé par sa beauté et son identité. Le savoir-faire de ce patrimoine est transmis de génération en génération et inclut la tradition et la culture dans chaque étape de fabrication (dévidage , filage et tissage). Arrivé en Thaïlande au lendemain de la guerre de 1944, l’Américain Jim Thompson est séduit par le pays et se passionne pour la soie tissée à la main, à l’époque tombée dans l’oubli. Dessinateur et coloriste de talent, il développe la production de la soie thaïlandaise et crée en quelques mois la Thai Silk Company qui fait travailler 200 tisseurs. La participation de Jim Thompson fut fondamentale au renouveau du tissage de la soie thaïlandaise et à la réputation qu’elle a acquit aujourd’hui.
เนื่องในโอกาสเทศกาลความหลากหลายทางวัฒนธรรมนานาชาติ คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การความร่วมมือทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้จัดงานวัฒนธรรม ศิลปะและวิชาการภายใต้หัวข้อ “ผ้าไหมไทย : มรดกวัฒนธรรม” ระหว่างวันที่ ๑๘ ถึง ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ องค์การยูเนสโก งานดังกล่าวประกอบด้วยสัมมนา นิทรรศการ การสาธิต การแสดงและการเดินแบบ ผ้าไหมไทยหรือรู้จักกันในฐานะ ราชินีของผ้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงทั้งในด้ามความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ การผลิตไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตตั้งแต่การสาวไหม การทอผ้าไหมสะท้อนให้เห็นถึงวัฒธรรมและประเพณี การผลิตผ้าไหมในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมบ้านเชียง(มีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในปีพ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริในการยกคุณภาพการผลิตผ้าไหมไทย โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นมาอบรบเทคนิคการผลิต การเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมแก่ชาวบ้าน แต่อย่างไรก็ตามผ้าไหมไทยก็ยังไม่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ จนกระทั่งจิม ทอมสัน ชาวอเมริกันได้นำผ้าไหมไทยไปตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกายนักแสดงในละครเรื่อง กษัตริย์และฉัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ นับแต่นั้นมาผ้าไหมไทยก็เป็นที่นิยมในระดับนานาชาติ ประวัติความเป็นมาและศิลปะการทักทอที่เป็นเอกลักษณ์กลายเป็นมูลค่าเพิ่มที่สำคัญต่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยซึ่งเป็นที่นิยมจากชาวไทยและชาวต่างชาติในปัจจุบัน ผ้าไหมไทยเป็นของที่ระลึกทำรายได้ปีละประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท และส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศปีละ ๙๐๐-๑,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อเป็นการพัฒนาไหมไทยให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศใช้เครื่องหมายรับรองตรานกยูงซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นเครื่องหมายรับรองชนิดเส้นไหม และกรรมวิธีการผลิตผ้าไหม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ๔ ชนิด คือ นกยูงสีทองเป็นผ้าไหมที่ผลิตโดยใช้เส้นไหมและวัตถุดิบตลอดจนกระบวนการผลิตที่เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นฐานดั้งเดิมของไทย นกยูงสีเงินเป็นผ้าไหมที่ผลิตขึ้นโดยยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการผลิตบางขั้นตอน นกยูงสีน้ำเงินเป็นผ้าไหมที่ผลิตด้วยภูมิปัญญาของไทยแบบประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตเข้ากับสมัยนิยมและเชิงธุรกิจ นกยูงสีเขียวเป็นผ้าไหมที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานภูมิปัญญาไทยในด้านลวดลายและสีสันระหว่างเส้นใยแท้กับเส้นใยอื่นๆ ที่มาจากธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์รูปแบบต่างๆ ขอขอบคุณ คุณอรชาต สืบสิทธิ์ รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ในการอนุญาตคณะศูนย์จดหมายเหตุโสตทัศน์เพื่อการวิจัยถ่ายทำเทศกาลวัฒนธรรมนี้ รวมทั้งเผยแพร่มรดกวัฒนธรรมนี้ต่อผู้ชมจากทั่วโลก และคุณจุลลดา มีจุล หัวหน้าฝ่ายวิชาการและพัฒนาเครือข่าย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ในการเป็นล่ามภาษาไทยและฝรั่งเศสในสัมมนาต่างๆตลอดเทศกาล

Dates et versions

medihal-01584783 , version 1 (09-09-2017)

Licence

Identifiants

  • HAL Id : medihal-01584783 , version 1

Citer

Charles Goemaere, Cheerachote Soontararak, Prateep Meesilpa, Elisabeth de Pablo, Jirasri Deslis. Cooperation between Thai silk and Champagne Association of France. . 2009. ⟨medihal-01584783⟩
36 Consultations
2 Téléchargements

Partager

More